ความเป็นมนุษย์ มักจะมีความ ขี้เกียจ เป็นเรื่อง ธรรมดา เพราะสมอง มักจะเลือกทาง หรือ วิธีที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด ซึ่งก็อาจจะเป็นผลดี หากใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แต่ถ้าเรายอมทำตาม ความสบายที่สมองเลือกให้ตลอด โดยที่ไม่ได้ไต่ตรองดูผลที่จะตามมาให้ดีเสียก่อน ก็อาจเป็นไปได้ว่า หนทางความสบายตรงหน้า เมื่อถึงปลายทาง อาจเป็นความลำบากที่เคย หลีกเลี่ยงมาก็เป็นได้ เหมือนดั่งคำพูด ที่ว่า "ลำบากวันนี้สบายวันหน้า" แต่สมอง อาจจะบอกเราว่า "ขี้เกียจวันนี้สบายวันนี้"
หากเราใช้ความคิด ที่ไม่ใช่อารมณ์ คิดถึงผลที่จะตามมาจากความขี้เกียจนั้น ให้ดีเสียก่อน ความสบายตรงหน้าเมื่ออาจจะนำไปสู่ความลำบากในภายหลัง เราจึงต้อง ใช้เหตุผล เหนืออารมณ์ในการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำ เพราะไม่ว่าเราจะเลือก ทางที่ ลำบาก (ลงมือทำ) หรือ ทางที่สบาย (ขี้เกียจในสิ่งที่ควรทำ)
สุดท้ายแล้วยังไง เราจะต้องพบเจอ ทั้ง ความสบาย และ ความลำบาก อยู่ดี
แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการเลือกนั้นอาจแต่ต่างกัน หากเปรียบเทียบความ ลำบาก คือ ล้มเหลว สบาย คือ สำเร็จ ก็จะเกิดคำพูดใหม่ ที่ว่า "ความล้มเหลวในวันนี้คือความสำเร็จในวันข้างหน้า คำพูดนี้มีเหตุผลให้มีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน เนื่องจากความล้มเหลวเกิดจากการทดลองทำ ลองผิดลองถูก ปรับปรุง พัฒนา แก้ไข จึงมักจะล้มเหลวในช่วงเริ่มเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราไม่ยอมแพ้ เมื่อผ่านล้มเหลวมาหลาย ๆ ครั้ง จะเกิดการเรียนรู้ว่า อะไรที่ทำแล้วไม่ใช่ สุดท้ายแล้วทางที่ใช่ และ ความสำเร็จ ก็จะตามมา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น