ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้

                     

               

          ความกลัว คำนี้ฟังดูแล้ว อาจเป็นคำที่แทนความหมายของ สิ่งที่เราไม่อยากพบเจอ บางทีอาจเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เรา คิด วิตก กังวล กลัวว่ามันจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน  กับ อีกความหมายหนึง คือ ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้จนไม่กล้าลงมือทำ  ถ้าเรายังไม่รู้  ยังไง ๆ เราก็ต้อง กลัวสิ่งนั้น เช่น กลัวว่าจะทำได้ไม่ดี กลัวว่ามันจะล้มเหลว หรือ เหตุผลต่าง ๆ ที่ทำให้เรากลัว ไม่กล้าลงมือทำ                  

         ซึ่งปัญหา ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ วิธีแก้ เพื่อเปลี่ยนความกลัวเป็นความ กล้า เราก็รู้ ๆ กันอยู่ นั้นก็คือ การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง หากสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ เคยมีคนอื่นทำได้ จะมีวิธี หรือ แนวทางที่จะลงมือทำได้ สิ่งนั้นจะมีผู้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ในยุค 4G / 5G ความรู้ เกีอบทุกอย่าง บนโลก อยู่บนมือถือ เพียงแค่ถาม Google  ก็จะมีคำตอบออกมามากมาย เมื่อเรารู้วิธีแล้ว ความกลัวที่จะทำสิ่งนั้นก็จะค่อย ๆ บางเบาลง กลายเป็นความ กล้า และ จะหมดสิ้นไปเมื่อลงมือทำจะเกิดผลสำเร็จ

          หากความ กลัวในสิ่งที่เราจะทำนั้น เป็นสิ่งที่ หาตอบไม่ได้ ถาม Google ก็ยังไม่มีคำตอบ เราก็คงต้องถามตัวเองก่อนว่า พร้อมที่จะ เผชิญหน้า กับ สิ่งนั้น หรือ พร้อมที่จะเป็นคนแรก ๆ ที่จะแสวงหาคำตอบ  พยายามค้นหาความหมาย วิธีการ ลงมือทำแบบ ลองผิดลองถูก โดยใช้พื้นฐานความรู้ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ เมื่อพบคำตอบของปัญหาความกลัวนั้นแล้ว เราอาจจะเป็นคนแรก ๆ ที่ได้ เผยแพร่ความรู้นั้น บนโลกอินเตอร์เน็ต เหมือนกับ ตอนที่เราค้นหาข้อมูลความรู้ ที่ผู้อื่น ได้ลงมือทำได้ก่อน และ เผยแพร่ไว้

                

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สิ่งที่ได้เลือกแล้วดีที่สุดเสมอ

สิ่งที่เลือกแล้วดีที่สุดเสมอ อย่าเสียใจกับสิ่งที่ผ่านมา เพราะนั่นคือ สิ่งที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานั้นแล้ว

ลำบากวันนี้สบายวันหน้า VS ขี้เกียจวันนี้สบายวันนี้

              ความเป็นมนุษย์ มักจะมีความ ขี้เกียจ เป็นเรื่อง ธรรมดา เพราะสมอง มักจะเลือกทาง หรือ วิธีที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด ซึ่งก็อาจจะเป็นผลดี หากใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด            แต่ถ้าเรายอมทำตาม ความสบายที่สมองเลือกให้ตลอด โดยที่ไม่ได้ไต่ตรองดูผลที่จะตามมาให้ดีเสียก่อน ก็อาจเป็นไปได้ว่า หนทางความสบายตรงหน้า เมื่อถึงปลายทาง อาจเป็นความลำบากที่เคย หลีกเลี่ยงมาก็เป็นได้ เหมือนดั่งคำพูด ที่ว่า "ลำบากวันนี้สบายวันหน้า" แต่สมอง อาจจะบอกเราว่า "ขี้เกียจวันนี้สบายวันนี้"            หากเราใช้ความคิด ที่ไม่ใช่อารมณ์ คิดถึงผลที่จะตามมาจากความขี้เกียจนั้น ให้ดีเสียก่อน ความสบายตรงหน้าเมื่ออาจจะนำไปสู่ความลำบากในภายหลัง  เราจึงต้อง ใช้เหตุผล เหนืออารมณ์ในการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำ เพราะไม่ว่าเราจะเลือก ทางที่ ลำบาก (ลงมือทำ) หรือ ทางที่สบาย (ขี้เกียจในสิ่งที่ควรทำ) สุดท้ายแล้วยังไง เราจะต้องพบเจอ ทั้ง ความสบาย และ ความลำบาก อยู่ดี            แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการเลือกนั้นอาจแต่ต่างกัน หากเปรียบเทียบความ ลำบาก คือ ล้มเหลว สบาย คือ สำเร็จ ก็จะเกิดคำพูดใหม่ ที่ว่า &quo