ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความคิด เหมือนกัน แต่ ความหมายต่างกัน

         


         ในแต่ละวันมีความคิด มากมายเข้ามาในหัว หรือ บางทีก็เป็นสิ่งที่สมองสร้างขึ้นมาเอง ทั้งเป็นเรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น จะเที่ยงนี้กินอะไรดี หรือ วันหยุดจะไปเที่ยวไหนดี 

        บางครั้ง ขณะที่กำลังทำบางอย่างอยู่ ความคิดหรือจิตใจก็ลอยไปที่อื่น เช่นกำลังนั่งประชุมอยู่ ในจังหวะที่เรื่องที่คนอื่นพูดไม่เกี่ยวกับเรา บางครั้งก็มีความคิดอื่น ๆ เข้ามาในหัว ซึ่งเป็นการคิดถึง อนาคต หรือ เป็นเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว เป็นอย่างนี้อยู่บ่อยครั้งจนตอนนี้ เริ่มสังเกตุตัวเองได้ว่า กำลังคิดเรื่องอื่น หรือ ใจลอย อีกแล้ว  เลยพยายามดังสติกลับมาให้อยู่กับปัจจุบันมากที่สุด  หลังจากนั้นก็เก็บความสงสัยนี้ เรื่อยมาว่า อาการนี้คืออะไร

     และแล้วก็พบคำตอบ เป็นคำตอบจากการฟังกูรู ท่านหนึ่ง ซึ่งบังเอิญเปิดเจอใน Facebook โดยจะแบ่งคำว่า ความคิด เป็น ภาษาอังกฤษ 2 คำดังนี้

1. thought แปลว่า ความคิด

2. idea แปลว่า ความคิด

จะเป็นว่าทั้ง 2 คำ แปลว่า ความคิดเหมือนกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกัน ดังนี้

คำว่า thought เป็นความคิด เรื่อยเปื่อย อยู่ ๆ ก็คิด อยาก จะทำนั่น ทำนี่ ไม่มีแบบแผน ไม่มีความชัดเจน คล้าย ๆ กันการเพ้อฝัน เป็นความคิด แบบ มโน ก็ว่าได้ 

ส่วนคำว่า idea เป็นความคิด ที่มีขั้นตอน หรือ มีแบบแผนในการลงมือทำ มีโอกาส อยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้จริง

    พอรู้ความหมายแล้ว ในแต่ละวัน เราจะรู้ได้ทันทีว่าตอนนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นกับเรา ณ ตอนนี้
เป็น thought หรือว่า idea กันแน่


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สิ่งที่ได้เลือกแล้วดีที่สุดเสมอ

สิ่งที่เลือกแล้วดีที่สุดเสมอ อย่าเสียใจกับสิ่งที่ผ่านมา เพราะนั่นคือ สิ่งที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานั้นแล้ว

ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้

                                                             ความกลัว คำนี้ฟังดูแล้ว อาจเป็นคำที่แทนความหมายของ สิ่งที่เราไม่อยากพบเจอ บางทีอาจเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เรา คิด วิตก กังวล กลัวว่ามันจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน  กับ อีกความหมายหนึง คือ ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้จนไม่กล้าลงมือทำ  ถ้าเรายังไม่รู้  ยังไง ๆ เราก็ต้อง กลัวสิ่งนั้น เช่น กลัวว่าจะทำได้ไม่ดี กลัวว่ามันจะล้มเหลว หรือ เหตุผลต่าง ๆ ที่ทำให้เรากลัว ไม่กล้าลงมือทำ                                    ซึ่งปัญหา ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ วิธีแก้ เพื่อเปลี่ยนความกลัวเป็นความ กล้า เราก็รู้ ๆ กันอยู่ นั้นก็คือ การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง หากสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ เคยมีคนอื่นทำได้ จะมีวิธี หรือ แนวทางที่จะลงมือทำได้ สิ่งนั้นจะมีผู้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ในยุค 4G / 5G ความรู้ เกีอบทุกอย่าง บนโลก อยู่บนมือถือ เพียงแค่ถาม Google  ก็จะมีคำตอบออกมามากมาย เมื่อเรารู้วิธีแล้ว ความกลัวที่จะทำสิ่งนั้นก็จะค่อย ๆ บางเบาลง กลายเป็นความ กล้า และ จะหมดสิ้นไปเมื่อลงมือทำจะเกิดผลสำเร็จ     

ลำบากวันนี้สบายวันหน้า VS ขี้เกียจวันนี้สบายวันนี้

              ความเป็นมนุษย์ มักจะมีความ ขี้เกียจ เป็นเรื่อง ธรรมดา เพราะสมอง มักจะเลือกทาง หรือ วิธีที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด ซึ่งก็อาจจะเป็นผลดี หากใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด            แต่ถ้าเรายอมทำตาม ความสบายที่สมองเลือกให้ตลอด โดยที่ไม่ได้ไต่ตรองดูผลที่จะตามมาให้ดีเสียก่อน ก็อาจเป็นไปได้ว่า หนทางความสบายตรงหน้า เมื่อถึงปลายทาง อาจเป็นความลำบากที่เคย หลีกเลี่ยงมาก็เป็นได้ เหมือนดั่งคำพูด ที่ว่า "ลำบากวันนี้สบายวันหน้า" แต่สมอง อาจจะบอกเราว่า "ขี้เกียจวันนี้สบายวันนี้"            หากเราใช้ความคิด ที่ไม่ใช่อารมณ์ คิดถึงผลที่จะตามมาจากความขี้เกียจนั้น ให้ดีเสียก่อน ความสบายตรงหน้าเมื่ออาจจะนำไปสู่ความลำบากในภายหลัง  เราจึงต้อง ใช้เหตุผล เหนืออารมณ์ในการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำ เพราะไม่ว่าเราจะเลือก ทางที่ ลำบาก (ลงมือทำ) หรือ ทางที่สบาย (ขี้เกียจในสิ่งที่ควรทำ) สุดท้ายแล้วยังไง เราจะต้องพบเจอ ทั้ง ความสบาย และ ความลำบาก อยู่ดี            แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการเลือกนั้นอาจแต่ต่างกัน หากเปรียบเทียบความ ลำบาก คือ ล้มเหลว สบาย คือ สำเร็จ ก็จะเกิดคำพูดใหม่ ที่ว่า &quo